ปัญหาของประเทศไทย
– การพัฒนาที่ยั่งยืน
การพัฒนาที่ยั่งยืน จะมีปัญหามากหากขาดความร่วมมือในการพัฒนาจากทุกภาคี ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากภาคประชาชน
การปฏิบัติราชการในการขับเคลื่อนไปสู่ความยั่งยืน
การพัฒนาประเทศจะมีความยั่งยืนขึ้นอยู่กับการขับเคลื่อนการปฏิบัติราชการในประเด็นหลัก ดังนี้
1.
ปัญหาปัจจุบันเกิดจากความก้าวหน้าจากโลกาภิวัตน์
(Globalization) ซึ่งเป็นผลพวงจากการพัฒนา Technology ไม่ใช่ปัญหาที่เกิดจากการตัดสินใจเชิงนโยบายเป็นหลัก วิธีคิด วิธีมอง
ปัญหาของคนส่วนใหญ่ยังมองอยู่ในกรอบของตนเอง
ต้องพยายามเปลี่ยนแปลงมองจากรอบข้างมองนอกกรอบ (Think out of the box)
2.
ปัญหาที่พบจะเป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่ของโลก
3.
การแก้ไขปัญหาของประชาชนต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของตนเอง มีส่วนในการแสดงความคิด เป็นความต้องการของประชาชนที่จะแก้ไขปัญหา หลักสำคัญคือ ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางในการปฏิบัติราชการ
4.
ความยั่งยืนในการพัฒนาประเทศที่ผูกพันหรือเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติจะมองเป็นเรื่องที่ไกลตัวเองอีกไม่ได้แล้ว
คุณสมบัติ/บทบาทของข้าราชการรุ่นใหม่ในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
1. ใฝ่รู้/เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
ฝึกฝนตนเองให้มีความชำนาญในเรื่องที่ตนต้องรับผิดชอบและงานที่เกี่ยวข้องอยู่สม่ำเสมอ
2. สามารถคิดวิเคราะห์ กลั่นกลอง
ข้อมูลอย่างถูกวิธีด้วยตนเอง
ต้องรู้จักรับฟังและแลกเปลี่ยนข้อมูล
ข่าวสาร และความรู้ด้านต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้อง
3. ต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา
เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก
4. ต้องลงมือปฏิบัติตามที่ได้วางแผนไว้ ความสำเร็จจะไม่เกิดขึ้นหากไม่มีการปฏิบัติ
5. ต้องศึกษางานทีรับผิดชอบ และการประสานการปฏิบัติกับภาคีให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เพื่อให้เกิดความร่วมมือกับทุกภาคส่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพและก้าวไปสู่ความสำเร็จ
6. คุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการรุ่นใหม่ จะต้องมีอยู่ในจิตใจ มีความสำนึกในคุณธรรมและจริยธรรมอยู่ตลอดเวลา
ซึ่งจะเป็นแรงขับให้เกิดพฤติกรรมในการปฏิบัติหน้าที่ อย่าทำในสิ่งที่คิดว่าผิด ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะกำหนดพฤติกรรมของตนเอง
7.
ควรมีความคิดเป็นผู้ก่อการในการเปลี่ยนแปลง
(Change
Agent) จากภายใต้จิตสำนึก ที่ถูกต้องในตัวของข้าราชการเอง
8.
วัฒนธรรมของการอยู่ร่วมกันในองค์กรในการปฏิบัติงานเชิงระบบ ซึ่งจะต้องปฏิบัติ งานร่วมกับผู้อื่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ต้องปฏิบัติงานในเชิงบูรณาการ
ให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุดทั้งต่อองค์กรและประชาชน
9. การสร้างเครือข่าย (Team work) กับเพื่อนร่วมงานทั้งในองค์กรเดียวกันและต่างองค์กร
ต้องทลายกำแพงข้ามหน่วยงานในการปฏิบัติงาน บริหารจัดการองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์
(Knowledge Management: KM) สู่เป้าหมาย สุดท้าย คือ ประชาชนเป็นศูนย์กลาง